วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาบอกเกี่ยวกับข้อสงสัยในการเขียนแผนการสอน กิจกรรมเสริมประสบการณ์วิทยาศาสตร์ ว่าแต่ละคนมีข้อสงสัยในหัวข้อใด แล้วอาจารย์ก็อธิบายเพิ่มเติมพร้อมสรุปให้นักศึกษาฟัง
อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอสื่่อวิทยาศาสตร์พร้อมจัดหมวดหมู่ของสื่อว่าอยู่ในหมวดหมู่ใด
ซึ่งจำแนกได้ดังนี้
สรุปการจัดหมวดหมู่สื่อวิทยาศาสตร์
ภาพกิจกรรม
จากนั้นเพื่อนๆก็ออกมานำเสนอโทรทัศน์ครูและวิจัย
โทรทัศน์ครู เรื่องสมบัติของสาร (การละลายของสาร) ( Properties of Matter)
คุณครูอังศนา มาทอง
ผู้นำเสนอ....นางสาวเบญจมาศ บริบูรณ์
ครูเริ่มจากการเชื่อมโดยงจากสิ่งแวดล้อมเข้ากับการทดลอง นำเข้าสู่บทเรียนโดยให้เด็กมีส่วนร่วมในการทดลองให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ ได้บันทึกการทดลอง และให้เด็กออกมาพูดสรุปเกี่ยวกับความรู้ที่ได้ ผลของการทดลองเป็นอย่างไรพร้อมทั้งครูให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง (Equipment)
-น้ำตาล (Sugar)
-เกลือ (Salt)
- โฟม ( Form)
-ทราย ( Sand)
-ตะปู (Tack)
-ผงซักฟอก ( Detergent)
โดยนำอุปกรณ์เหล่านี้ทดลองโดยการละลายน้ำ และให้เด็กสังเกตการละลายของสาร
สรุปผลการทดลอง
น้ำตาล กับ เกลือ สามารถละลายน้ำได้
โฟม ตะปู ทราย ไม่ละลายน้ำ
ผงซักฟอก ละลายน้ำได้ดี
คำแนะนำจากอาจารย์
ในการเอาไปใช้กับเด็กปฐมวัย ควรจะเสริมเรื่อง สารพิษจากผงซักฟอก ถึงแม้ผงซักฟอกจะละลายน้ำได้ดี แต่เราก็ไม่ควรนำน้ำผงซักฟอกเททิ้งในแม่น้ำลำคลอง หรือนำไปรดน้ำต้นไม้ เพราะจะทำให้แม่น้ำมีสารตกค้างอันตราย ซึ่งเป็นอันตรายต่อสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำ ซึ่งจะเกิดผลกระทบตามมาทีหลัง
ภาพกิจกรรมการนำเสนอบทความและวิจัย
วัสดุ อุปกรณ์
-น้ำหวาน ( Nectar)
-น้ำ (Water)
-เกลือ ( Salt)
-น้ำแข็ง ( Ice)
-ถุง หนังยาง ( Bag )
-หม้อ ( Pot)
-ช้อนตักน้ำหวาน ( Spoon)
ขั้นตอนการทำ
1 นำน้ำหวานผสมกับน้ำ คนให้ได้ความหวานตามที่ชอบ
2 ตักน้ำหวานใส่ถุงแล้วรัดด้วยหนังยางให้แน่น
3 นำไปวางลงในหม้อ นำน้ำแข็งใส่ลงไปในหม้อให้ท่วมถุงน้ำหวาน แล้วนำเกลือเม็ดโรยลงไป 3 ช้อนโต๊ะ
4 หมุนหม้อ ประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้น้ำแข็งและเกลือละลาย เพื่อที่หวานเย็นจะแข็งตัว
ทำไมน้ำหวานถึงแข็งตัว ?
การนำไปประยุกต์ใช้
จากการจัดหมวดหมู่สื่อวิทยาศาสตร์ นำไปประยุกต์ใช้กับเด็กปฐมวัยได้ ให้เด็กได้ทำของเล่นวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง หัดคิดค้นวิธีการเล่นด้วยตนเอง โดยสื่อง่ายๆจากที่เพื่อนนำเสนอในวันนี้บางชิ้นสามารถนำไปใช้ได้กับเด็ก เมื่อให้เด็กทำสื่อแร้วควรใช้คำถามชวนคิดกับเด็ก เช่น เด็กๆคิดว่าสื่อชิ้นนี้เล่นอย่างไร ทำไมถ้วยถึงกระโดดได้ จากสื่อถ้วยกระโดดได้
จากที่เพื่อนๆนำเสนอโทรทัศน์ครูและวิจัยสามารถนำไปปรับใช้ในกิจกรรมการทดลองให้กับเด็กได้ จะมีวิธีการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก โดยให้เด็กได้ทดลอง สังเกตการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเอง ได้ลองผิดลองถูก จะนำมาซึ่งการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง แล้วจะมีผู้เชี่ยวชาญหรือครูมาอธิบายเกี่ยวกับผลของการทดลองให้กระจ่างอีกครั้ง
การทดลองเปลี่ยนสถานะของน้ำ นำไปใช้จัดกับเด็กได้จริง แต่ถ้าจำนวนเด็กเยอะควรแบ่งเด็กออกเป็น กลุ่มหรือเป็นฐาน เพื่อให้เด็กแต่ละกลุ่มได้หมุนเวียนกันทำให้ครบทุกฐาน โดยมีครูเป็นผู้ให้ความสะดวกและดูแลความปลอดภัย เด็กจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
ประเมินตนเอง
ตั้งใจทำกิจกรรมในห้อง และตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนส่วนมากร่วมทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน มีความสามัคคีภายในห้องและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีเทคนิคในการสอน โดยนำกิจกรรมที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การทดลอง มาให้นักศึกษาได้ทดลอง ทำให้สนุกและได้ประสบการณ์ความรู้ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ได้กับเด็กในวันข้างหน้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น