วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 13







-วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอแผนที่เตรียมมา
ซึ่งกลุ่มของดิฉัน สอนหน่วยส้ม (orange) 
 วันที่ 1 ชนิดของส้ม  (kind of orange) ใช้สอนเด็กอายุ 5 ปี ดังต่อไปนี้




1. ครูและเด็ก ร้องเพลงประกอบท่าทาง เพลง ชนิดของส้ม 
***ส้ม ส้ม ส้ม                        หนูรู้จักส้มหรือเปล่า
    ส้มมีหลากหลายไม่เบา     ทั้งส้มเขียวหวานส้มจีน
อีกทั้งส้มเช้ง โชกุน           หนูๆลองทานส้มเอย
2. ครูถามเด็กว่า จากเพลงที่ร้องมีส้มอะไรบ้าง  และเด็กๆรู้จักส้มอะไรบ้าง



1. นำตะกร้าโดยมีผ้าปิดไว้มาให้เด็กดู จากนั้นให้เด็กทายว่าข้างในตะกร้ามีอะไร
2. ครูหยิบส้มจากตะกร้าให้เด็กสังเกตและตอบว่าเป็นส้มชนิดใดจนครบ
3. ครูให้เด็กนับส้มทั้งหมด พร้อมให้ตัวแทนออกมาหยิบป้ายตัวเลขฮินดูอารบิกปักกำกับไว้
4. ครูให้เด็กหยิบส้มแมนดารินแยกออกจากกลุ่มจนหมด  แล้วถามเด็กๆว่าส้มแมนดาริน กับที่ไม่ใช่ส้มแมนดาริน ส้มชนิดไหนมากกว่ากัน
5. ให้เด็กออกมาจับคู่แบบ 1 ต่อ 1  ถ้ากลุ่มใดหมดก่อนแสดงว่ากลุ่มนั้นน้อยกว่า  ถ้ากลุ่มใดยังเหลือแสดงว่ากลุ่มนั้นมากกว่า  แล้วนับจำนวนที่เหลือว่ามากกว่าเท่าไหร่



ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลงชนิดของส้ม และร่วมกันต่อจิ๊กซอร์รูปส้ม


หมายเหตุ จากแผนดังกล่าวกลุ่มของดิฉันได้ปรับปรุงเนื้อหาแผนตามที่อาจารย์แนะนำให้ดียิ่งขึ้นแล้วค่ะ


ภาพการสอนกลุ่มส้ม





หน่วยดิน (soil ) ชนิดของดิน
**อาจารย์แนะนำกระบวนการสอนคล้ายๆกลุ่มส้ม โดยถามเด็กๆว่ารู้จักดินชนิดไหนบ้าง
จากนั้นก็นำดินแต่ละชนิดใส่ถุง แล้วนำมาให้เด็กได้นับจำนวน เปรียบเทียบมากกว่า น้อยกว่า ของดินแต่ละชนิด






หน่วยทุเรียน( Durian)  ลักษณะของทุเรียน



 ** อาจารย์แนะนำการสอนเกี่ยวกับ วันที่ 2 ลักษณะของทุเรียน โดยแนะนำให้เกี่ยวกับการเลือกหน่วยที่จะสอน ต้องสัมพันธ์กับลักษณะของจังหวัดหรือที่อยู่อาศัยของเด็ก  เช่นทุเรียน จะปลูกแถวจันทรบุรี ซึ่งจะเหมาะสมมากถ้านำหน่วยทุเรียนมาสอน เพราะหาสื่อจริงได้ง่าย
                และการเลือกเปรียบเทียบทุเรียน ควรเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะแตกต่างกัน เช่น พันธุ์หมอนทอง กับพันธุ์กะดุม  แล้วให้เด็กบอกลักษณะของทุเรียนแต่ละชนิด บอกสี ขนาด ส่วนประกอบ เป็นต้น
จากนั้นบันทึกคำตอบของเด็กลงตาราง  แล้วให้เด็กออกบอกส่วนที่เหมือนกับส่วนที่ต่างกันของทุเรียน
ลงใน เซต อินเตอร์เซก






หน่วยมด (Ant) ลักษณะของมด


** กลุ่มนี้มีการเตรียม เพลงและเนื้อหาและสื่อมาดีค่ะ  โดยเปรียบเทียบลักษณะของ มดดำกับมดแดงว่ามีส่วนไหนที่เหมือนและต่างกันบ้าง
อาจารย์แนะนำเรื่องกลิ่นของมด ไม่ควรนำมาเปรีบยเทียบ เพราะเด็กไม่สามารถดมกลิ่นมดได้ 




หน่วยน้ำ (water) การทดลองเกี่ยวกับน้ำ



กลุ่มนี้จะทดลองโดยให้เด็กเห็นเกี่ยวกับคุณสมบัติของน้ำ
โดยการเทน้ำปริมาณเท่ากัน แต่ใส่ในภาชนะที่แตกต่างกัน จะทำให้น้ำมีรูปร่างที่แตกต่างกัน
น้ำมีรูปร่างที่เปลี่ยนแปลงตามภาชนะ

และทดลองการไหลของน้ำ คือน้ำไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ โดยกลุ่มนี้ใช้แนวคิดเดียวกันกับ น้ำตก

การทดลอง นำน้ำแข็งมาปะกบกับเชือกและใส่เกลือ น้ำแข็งเกาะติดกับเชือกสามารถยกเชือกขึ้นโดยน้ำแข็งไม่หลุดออกจากเชือก โดยเกลือจะทำปฏิกิริยากับน้ำแข็ง

กลุ่มนี้อาจารย์แนะนำ กิจกรรมควรทำเป็นฐานแต่ละฐาน เพื่อให้เด็กได้ทดลองทุกๆฐาน





อาจารย์ให้ทำกิจกรรมประกอบอาหาร โดยให้แบ่งเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คน
ฐานที่ 1 ตัดกระดาษรองไข่
ฐานที่  2  หั่นผัก
ฐานที่ 3  ตอกไข่ ตีไข่ 
ฐานที่ 4  ปรุงรสชาติ
ฐานที่ 5  ทำไข่หรรษา

**โดยให้แต่ละกลุ่มหมุนเวียนกันทำให้ครบทุกฐาน


ภาพกิจกรรม






การนำไปประยุกต์ใช้

สามรถนำกระบวนการสอนที่อาจารย์แนะนำในวันนี้ ไปใช้จัดประสบการณ์การสอนโดยบูรณาการหลายด้าน คือ 1 หน่วย บูรณาการได้หลายกิจกรรม 
นำไปประยุกต์ใช้สอนเด็กโดยเลือกหน่วยให้เหมาะสมกับเด็ก แบ่งจัดประสบการณ์ทั้ง 5 วัน แล้วใช้กระบวนการสอน การบูรณาการ ตามที่อาจารย์แนะนำค่ะ







ประเมินตนเอง
ยังไม่ค่อยพร้อมเรื่องสื่อในการสอน วิธีการพูดกับเด็กยังไม่ค่อยเป็นธรรมชาติ แต่ก็เตรียมกระบวนการสอนมาและบูรณาการได้หลายด้าน

ประเมินเพื่่อน
เพื่อนในกลุ่ม มีความสามัคคี ช่วยคิดแผน และทำสื่อที่จะมาสอนในวันนี้
เพื่อนในห้อง  เพื่อนส่วนมากตั้งใจฟังที่อาจารย์แนะนำแผนแต่ละวันเพื่อไปปรับใช้ในกานสอนครั้งต่อไป

ประเมินอาจารย์
อาจารย์แนะนำเกี่ยวกับกระบวนการสอน และการบูรณาการสู่วิชาต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษามาก
และอาจารย์ก็ให้โอกาสกับกลุ่มที่สอนไม่ผ่านให้มีโอกาสได้แก้ตัวหลังจากที่แนะนำไปแล้ว






















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น