วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 11






วันนี้อาจารย์เริ่มต้นการเรียนโดยมีสื่อหลายๆอย่างรวมกันในกล่องใหญ่  แล้วให้นักศึกษาออกมาจัดกลุ่มสิ่งของ ว่าของสิ่งนั้นควรจะวางตรงไหน ซึ่งจะได้แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ คือ ทุกอย่างในโลกมีความแตกต่างกัน

ซึ่งวันนี้อาจารย์จะให้นักศึกษาได้ดูกระบวนการในการทดลอง
- การทดลองบางครั้งอาจจะอันตราย ไม่เหมาะกับเด็ก แต่ มีคุณค่ามาก เพราะฉะนั้นสิ่งที่คำนึงในการทดลองคือความปลอดภัย เวลาทดลองต้องระมัดระวัง




กิจกรรมที่ 1 
อุปกรณ์
เทียน   ไม้ขีดไฟ   จานหรือถ้วย   แก้ว

ถามเด็กๆว่า จากอุปกรณ์ของครูเด็กๆคิดว่าเราจะทดลองอะไรได้บ้างคะ?
คำตอบของเด็กแต่ละคนอาจแตกต่างกัน จากนั้นครูก็เริ่มทดลองให้เด็กดู
ถ้าคุณครูจุดไม้ขีดกับเทียนจะเกิดอะไรขึ้น?  เด็กก็อาจจะตอบว่า จะเกิดไฟ
เมื่อครูจุดเทียนแล้ว จะเอาแก้วคว่ำ แต่คว่ำไม่ได้เนื่องจากแก้วสั้นเกินไป  นี่เป็นปัญหาในการทดลองแต่ครูสามารถให้เด็กได้เรียนรู้จากปัญหานี้ โดยให้เด็กๆ ร่วมกันคิดว่า แก้วสั้นคว่ำไม่ได้จะทำอย่างไร (ตัดเทียนให้สั้นลงเพื่อที่แก้วจะครอบได้ )
 ......ถ้าเอาแก้วครอบจะเกิดอะไรขึ้น? (เรียกว่าการคาดคะเน ตั้งสมมุติฐาน เด็กจะได้ทักษะการสังเกต และรวบรวมข้อมูล)
......ถ้าเอาแก้วครอบไฟก็จะดับ แล้วทำไมไฟถึงดับ?
เด็กจะรวบรวมข้อมูล อาจหาข้อมูลโดยการดู VDO หรืออาจจะถามพ่อแม่  (เด็กจะได้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  สาระสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเด็ก คือ อากาศ )

ภาพกิจกรรม





กิจกรรมที่ 2 การดูดซึม
อุปกรณ์   กระดาษเอสี่ 1 แผ่น ต่อ 4 คน
 วิธีการทำ
-พับกระดาษเหมือนตอนที่จะทำดอกไม้ แต่ไม่ใช้กรรไกรตัด เปลี่ยนเป็นการฉีกแทน
-คลี่ดอกออก แล้วพับลงมาตามมุม
- นำไปลอยในน้ำ
สิ่งที่เกิดขึ้น กระดาษบานออก......
สิ่งที่ตามมา ทำไมกระดาษบานออก......
กระดาษจะเปียกที่ละนิด น้ำซึมเข้าไปในกระดาษ กระดาษมีช่องว่างทำให้น้ำเข้าไป จึงทำให้เกิดการคลี่ กระดาษจึงบานออก
กระดาษจะดูดซึมน้ำออกไปจนน้ำเหลือถึงขอบเส้นสีน้ำเงิน จากเดิมน้ำเหลือเลยเส้นขอบสีน้ำเงิน
เด็กจะได้ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำ น้ำเป็นส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิต อาจจะทดลองโดยเอาพืชมาคั้น ก็จะได้น้ำ


ภาพกิจกรรม





กิจกรรมที่ 3

นำน้ำเติมใส่ขวดแล้วเจาะรูขวดน้ำข้างล่าง
การทดลอง
เมื่อปิดฝาขวด -----> น้ำจะไหลออกตรงรูน้อยมาก
เมื่อเปิดฝาขวด ------> น้ำจะไหลออกตรงรูมาก
((( ที่น้ำไม่ไหลหรือไหลน้อยมาก เนื่องจากบริเวณรอบๆขวดมีอากาศอยู่รวมถึงบริเวณฬต้ขวดพลาสติกด้วย  อากาศที่อยู่ใต้ขวดจะดันน้ำไว้ไม่ให้ไหลออกมา  เมื่อเปิดฝาขวดอากาศสามารถเข้าไปอยู่ในขวดได้และจะดันน้ำให้ไหลพุ่งออกมาจากรูอย่างรวดเร็ว  )))       อ่านเพิ่มเติม....

กิจกรรมนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ คือ
 การเจาะกระป๋องนม หากเจาะสองรูก็จะทำให้นมไหลได้ดีขึ้นกว่าเจาะรูเดียว






 กิจกรรมที่4 ปั้นดินน้ำมัน 

เปรียบเทียบ............... 

--->เมื่อปั้นเป็นก้อนวงกลมดินน้ำมันจะจมน้ำ เนื่องจากความหนาแน่นของวัตถุมากกว่าน้ำ
--->แผ่วัตถุให้มีขนาดใหญ่และมีขอบโค้งคล้ายเรือ ความหนาแน่นของวัตถุจะลดลง แรงลอยตัวจะเพิ่มขึ้น ทำให้วัตถุลอยน้ำได้





ภาพกิจกรรม





กิจกรรมที่ 5 แว่นขยาย


อ่านเพิ่มเติม ใช้หยดน้ำเป็นแว่นขยาย.....




กิจกรรมที่6 การไหลของน้ำ

ถ้าวางในระดับเดียวกัน น้ำจะไหลนิดเดียว
ถ้าวางไว้คนละระดับ วางขวดน้ำไว้ข้างบน  วางสายยางที่ดูดน้ำไว้ข้างล่าง น้ำจะยิ่งไหลแรงและสูงขึ้น
ซึ่งการทดลองนี้จะได้เรื่องคุณสมบัติของน้ำ เพราะน้ำไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ

ภาพกิจกรรม

อ่านคุณสมบัติของน้ำเพิ่มเติม คลิ๊กเลย...





กิจกกรรมที่ 7

เจาะรูขวดพลาสติก รูบน และรูล่าง แล้วเอาเทปกาวมาติดไว้
เติมน้ำลงไปในขวด แล้วแกะเทปกาวออกทีละรู  อาจารย์ให้การบ้านโดยให้นักศึกษาไปหาคำตอบ รวบรวมข้อมูล ว่า ระหว่างรูบนกับรูล่าง รูไหนไหลได้ไกลกว่ากัน
จากผลการรวบรวมข้อมูลได้ดังนี้....................
รูข้างล่างไหลได้ไกลที่สุดเพราะมีแรงดันมากกว่ารูข้างบน






การนำไปประยุกต์ใช้

จากการเรียนการสอนในวันนี้นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับดิฉันเพราะสามารถนำไปสอนเด็กโดยการให้ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์แก่เด็ก โดยที่เรานำการทดลองง่ายๆนำไปใช้จัดกิจกรรมให้กับเด็ก ให้เด็กได้เห็นถึงกระบวนการทดลอง แล้วจะนำมาซึ่งการสังเกต ตั้งสมมุติฐาน การทดลอง และการเก็บรวบรวมข้อมูล  เด็กจะเกิดคำถามว่า ทำไม WHY?  เมื่อทดลองเสร็จแล้วเด็กก็จะเกิดความเข้าใจ เราสามารถให้ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ได้จากการทดลองเพราะเด็กจะเรียนรู้ผ่านการเล่นการทดลองมากกว่าการท่องจำ






ประเมินตนเอง
วันนี้ตั้งใจทำกิจกรรม และจดจำขั้นตอน กระบวนการทดลอง เพื่อที่จะนำไปปรับใช้กับเด็ก

ประเมินเพื่อน
เพื่อนส่วนมากชอบการทดลองที่อาจารย์นำมา สนุกสนานและตื่นเต้นขณะทำการทดลอง

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ดี โดยนำการทดลองมาให้นักศึกษาร่วมกันทดลองและหาคำตอบ ซึ่งอาจารย์ต้องการสื่อให้นักศึกษาเห็นถึงกระบวนการทดลองทางวิทยาศาสตร์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น