วีธีการทำ
อาจารย์ให้เพื่อนๆแต่ละคนนำเสนอสื่อทางวิทยาศาสตร์ของแต่ละคน
โดยให้นักศึกษาเชื่อมโยงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ว่าสื่อของตนเองเป็นวิทยาศาสตร์ตรงไหนเช่น เรื่องของแรง แรงโน้มถ่วง ลม อากาศและการเคลื่อนที่
โดยประมวลภาพสื่อได้ดังนี้...................................
ผลงานของเพื่อนๆ
อาจารย์ให้นักศึกษาไปปรับปรุง my mapping แล้วนำขึ้นบล็อก เพื่อจะใช้ในการเขียนแผนและแบ่งการสอนของแต่ละวัน
กลุ่มส้ม
แบ่งการสอนตามวันได้ดังต่อไปนี้
ชนิดของส้ม >> Sukhonthip Homyen
ลักษณะของส้ม >> Jirasaya Sattang
ประโยชน์และข้อพึงระวัง>> Preeyanuch Chontep
การเก็บรักษา >> Darawan Glomchai
การขยายพันธุ์ >> Natchalita Suwanmanee
หมายเหตุ อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มไปคิดสื่อการสอนสำหรับหน่วยที่จะสอน 2 ชิ้น (สื่อต้องสัมพันธ์กับเรื่องที่จะสอน)
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
จากกิจกรรมที่นำเสนอสื่อของเพื่อนๆในวันนี้ เราสามารถนำไปใช้กับเด็กได้ โดยให้เด็กได้ลองทำลองเล่นด้วยตนเอง ด้วยอุปกรณ์ง่ายๆ วัสดุเหลือใช้ต่างๆที่เด็กรู้จัก ให้เขาได้ค้นพบการเล่นและข้อผิดพลาดด้วยตนเอง และข้อผิดพลาดที่เขาค้นพบนั้นจะนำมาซึ่งการแก้ไข
เช่น เราสอนเด็กทำไหมพรมเต้นระบำ อันดับแรกเด็กก็จะเกิดความภูมิใจในตนเองเพราะเขาได้สร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง แล้วเราก็ให้เด็กๆลองคิดค้นหาวิธีเล่นว่าสามารถเล่นได้กี่วิธี เช่น เล่นโดยการเป่าลมผ่านหลอด แล้วไหมพรมก็จะเต้น ถ้าเด็กๆอยากให้ไหมพรมเต้นแรงหรือเต้นไปไกล เด็กก็อาจจะลองเป่าลมแรงๆดู เด็กเขาจะเกิดการค้นพบวิธีการเล่นด้วยตนเอง แล้วเราก็เริ่มเข้าสู่เนื้อหาวิทยาศาสตร์เรื่อง ลม อาจจะใช้คำถามกับเด็กว่า ทำไมไหมพรมถึงเต้น?
ประเมินตนเอง วันนี้ตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนอ และเก็บทักษะในการทำสื่อต่างๆ ไปปรับปรุงของตนเอง
เนื่องจากวันนั้นไม่ได้นำสื่อมานำเสนอค่ะ
ประเมินเพื่อน เพื่อนส่วนมากนำเสนอสื่อที่น่าสนใจ สามารถนำไปใช้กับเด็กได้จริง
ประเมินอาจารย์ อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้Present สื่อที่นำนำ แล้วพยายามใช้คำถามกระตุ้นเพื่อให้นักศึกษาเชื่อมโยงระหว่างสื่อและวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกัน และฝึกให้นักศึกษาคิดเชิงวิทยาศาสตร์ คือเวลาพูดถึงเรื่องอะไรควรมีอ้างอิง
เช่น พูดถึงแรงโน้มถ่วง ควรอ้างอิงถึง เซอร์ ไอแซก นิวตัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น