ผู้วิจัย ชยุดา พยุงวงศ์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปี 2551
ความมุ่งหมายของการวิจัย
1 เพื่อศึกษาผลของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
2 เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบนักวิจัยก่อนและหลังทดลอง
นิยามศัพท์เฉพาะ
เด็กปฐมวัย เด็กปฐมวัย ชาย หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี
ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการค้นคว้าหาความรู้อย่างเป็นกระบวนการ ผ่านการฝึกฝนและปฏิบัติโดยใช้แบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
โดยแยกเป็น 5 ด้านดังต่อไปนี้
ทักษะการสังเกตุ
ทักษะการจำแนกประเภท
ทักษะการสื่อความหมาย
ทักษะการลงความเห็น
ทักษะการพยากรณ์
การจัดการเรียนรู้แบบนักวิจัย การจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนมีความสำคัญเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ซึ่งผู้เรียนจะได้เรียนรู้เรื่องที่ตนสนใจ ได้ลงมือค้นคว้า แสวงหาความรู้ เด็กจะได้สร้างองค์ความรู้ พร้อมกับแก้ปัญหาและค้นพบสิ่งใหม่ๆ
ขั้นตอนและกระบวนการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
ตัวอย่างแผน
ขั้นเด็กค้นคว้าวิจัยหาความรู้ : ศึกษาจากไข่ชนิดต่างๆ
กิจกรรมการเรียนการสอน สถานการณ์
จุดประสงค์
1. ส่งเสริมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
2. ส่งเสริมให้เด็กสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา
3. ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการสังเกตสิ่งต่างๆ
การดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ
สร้างบรรยากาศในชั้นเรียนโดยการร้องเพลง หรือท่องคำคล้องจอง
เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก
ขั้นสอน
1. ครูจัดเด็กออกเป็น 4 กลุ่มนั่งล้อมรอบกันเป็นวงกลม
2. ครูนำ ไข่ชนิด ต่างๆได้แก่ ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่นกกระทา ไข่เค็ม ไข่
เยี่ยวม้า ให้เด็กๆสังเกตความแตกต่าง
3. เด็กและครูร่วมกันสนทนาถึงความแตกต่างของไข่ทั้ง 3 ชนิด
พร้อมๆกัน โดยถามคำถามดังนี้
- ให้เด็กบอกว่าไข่แต่ละชนิดมีชื่อว่าอะไร
- ให้เด็กอธิบายๆลักษณะของไข่แต่ละชนิดว่าแตกต่างกันอย่างไร
- ให้เด็กสังเกตว่าลักษณะของไข่แต่ละชนิดเป็นอย่างไร
- ให้เด็กๆช่วยกันคิดว่านอกจากไข่ 5 ชนิดนี้แล้วมีไข่อะไรอีกบ้าง
4. เปิดโอกาสให้เด็กพูดคุยกันและซักถาม
ขั้นสรุป
เด็กและครูร่วมกันท่องคำคล้องจอง “ไข่”
สื่อ / อุปกรณ์
ไข่ไก่, ไข่เป็ด, ไข่นกกระทา, ไข่เค็ม, ไข่เยี่ยวม้า
สรุป
เด็กสังเกตลักษณะของไข่แต่ละชนิด พร้อมตั้งคำถาม
***สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเด็กปฐมวัยได้โดยใช้ในการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์สาระวิทยาศาสตร์จะทำให้เด็กเกิดทักษะต่างทางทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง จากการลงมือปฏิบัติ และควรหาสื่อที่หลากหลายและน่าสนใจมาใช้ในการจัดประสบการณ