วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 11






วันนี้อาจารย์เริ่มต้นการเรียนโดยมีสื่อหลายๆอย่างรวมกันในกล่องใหญ่  แล้วให้นักศึกษาออกมาจัดกลุ่มสิ่งของ ว่าของสิ่งนั้นควรจะวางตรงไหน ซึ่งจะได้แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ คือ ทุกอย่างในโลกมีความแตกต่างกัน

ซึ่งวันนี้อาจารย์จะให้นักศึกษาได้ดูกระบวนการในการทดลอง
- การทดลองบางครั้งอาจจะอันตราย ไม่เหมาะกับเด็ก แต่ มีคุณค่ามาก เพราะฉะนั้นสิ่งที่คำนึงในการทดลองคือความปลอดภัย เวลาทดลองต้องระมัดระวัง




กิจกรรมที่ 1 
อุปกรณ์
เทียน   ไม้ขีดไฟ   จานหรือถ้วย   แก้ว

ถามเด็กๆว่า จากอุปกรณ์ของครูเด็กๆคิดว่าเราจะทดลองอะไรได้บ้างคะ?
คำตอบของเด็กแต่ละคนอาจแตกต่างกัน จากนั้นครูก็เริ่มทดลองให้เด็กดู
ถ้าคุณครูจุดไม้ขีดกับเทียนจะเกิดอะไรขึ้น?  เด็กก็อาจจะตอบว่า จะเกิดไฟ
เมื่อครูจุดเทียนแล้ว จะเอาแก้วคว่ำ แต่คว่ำไม่ได้เนื่องจากแก้วสั้นเกินไป  นี่เป็นปัญหาในการทดลองแต่ครูสามารถให้เด็กได้เรียนรู้จากปัญหานี้ โดยให้เด็กๆ ร่วมกันคิดว่า แก้วสั้นคว่ำไม่ได้จะทำอย่างไร (ตัดเทียนให้สั้นลงเพื่อที่แก้วจะครอบได้ )
 ......ถ้าเอาแก้วครอบจะเกิดอะไรขึ้น? (เรียกว่าการคาดคะเน ตั้งสมมุติฐาน เด็กจะได้ทักษะการสังเกต และรวบรวมข้อมูล)
......ถ้าเอาแก้วครอบไฟก็จะดับ แล้วทำไมไฟถึงดับ?
เด็กจะรวบรวมข้อมูล อาจหาข้อมูลโดยการดู VDO หรืออาจจะถามพ่อแม่  (เด็กจะได้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  สาระสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเด็ก คือ อากาศ )

ภาพกิจกรรม





กิจกรรมที่ 2 การดูดซึม
อุปกรณ์   กระดาษเอสี่ 1 แผ่น ต่อ 4 คน
 วิธีการทำ
-พับกระดาษเหมือนตอนที่จะทำดอกไม้ แต่ไม่ใช้กรรไกรตัด เปลี่ยนเป็นการฉีกแทน
-คลี่ดอกออก แล้วพับลงมาตามมุม
- นำไปลอยในน้ำ
สิ่งที่เกิดขึ้น กระดาษบานออก......
สิ่งที่ตามมา ทำไมกระดาษบานออก......
กระดาษจะเปียกที่ละนิด น้ำซึมเข้าไปในกระดาษ กระดาษมีช่องว่างทำให้น้ำเข้าไป จึงทำให้เกิดการคลี่ กระดาษจึงบานออก
กระดาษจะดูดซึมน้ำออกไปจนน้ำเหลือถึงขอบเส้นสีน้ำเงิน จากเดิมน้ำเหลือเลยเส้นขอบสีน้ำเงิน
เด็กจะได้ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำ น้ำเป็นส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิต อาจจะทดลองโดยเอาพืชมาคั้น ก็จะได้น้ำ


ภาพกิจกรรม





กิจกรรมที่ 3

นำน้ำเติมใส่ขวดแล้วเจาะรูขวดน้ำข้างล่าง
การทดลอง
เมื่อปิดฝาขวด -----> น้ำจะไหลออกตรงรูน้อยมาก
เมื่อเปิดฝาขวด ------> น้ำจะไหลออกตรงรูมาก
((( ที่น้ำไม่ไหลหรือไหลน้อยมาก เนื่องจากบริเวณรอบๆขวดมีอากาศอยู่รวมถึงบริเวณฬต้ขวดพลาสติกด้วย  อากาศที่อยู่ใต้ขวดจะดันน้ำไว้ไม่ให้ไหลออกมา  เมื่อเปิดฝาขวดอากาศสามารถเข้าไปอยู่ในขวดได้และจะดันน้ำให้ไหลพุ่งออกมาจากรูอย่างรวดเร็ว  )))       อ่านเพิ่มเติม....

กิจกรรมนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ คือ
 การเจาะกระป๋องนม หากเจาะสองรูก็จะทำให้นมไหลได้ดีขึ้นกว่าเจาะรูเดียว






 กิจกรรมที่4 ปั้นดินน้ำมัน 

เปรียบเทียบ............... 

--->เมื่อปั้นเป็นก้อนวงกลมดินน้ำมันจะจมน้ำ เนื่องจากความหนาแน่นของวัตถุมากกว่าน้ำ
--->แผ่วัตถุให้มีขนาดใหญ่และมีขอบโค้งคล้ายเรือ ความหนาแน่นของวัตถุจะลดลง แรงลอยตัวจะเพิ่มขึ้น ทำให้วัตถุลอยน้ำได้





ภาพกิจกรรม





กิจกรรมที่ 5 แว่นขยาย


อ่านเพิ่มเติม ใช้หยดน้ำเป็นแว่นขยาย.....




กิจกรรมที่6 การไหลของน้ำ

ถ้าวางในระดับเดียวกัน น้ำจะไหลนิดเดียว
ถ้าวางไว้คนละระดับ วางขวดน้ำไว้ข้างบน  วางสายยางที่ดูดน้ำไว้ข้างล่าง น้ำจะยิ่งไหลแรงและสูงขึ้น
ซึ่งการทดลองนี้จะได้เรื่องคุณสมบัติของน้ำ เพราะน้ำไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ

ภาพกิจกรรม

อ่านคุณสมบัติของน้ำเพิ่มเติม คลิ๊กเลย...





กิจกกรรมที่ 7

เจาะรูขวดพลาสติก รูบน และรูล่าง แล้วเอาเทปกาวมาติดไว้
เติมน้ำลงไปในขวด แล้วแกะเทปกาวออกทีละรู  อาจารย์ให้การบ้านโดยให้นักศึกษาไปหาคำตอบ รวบรวมข้อมูล ว่า ระหว่างรูบนกับรูล่าง รูไหนไหลได้ไกลกว่ากัน
จากผลการรวบรวมข้อมูลได้ดังนี้....................
รูข้างล่างไหลได้ไกลที่สุดเพราะมีแรงดันมากกว่ารูข้างบน






การนำไปประยุกต์ใช้

จากการเรียนการสอนในวันนี้นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับดิฉันเพราะสามารถนำไปสอนเด็กโดยการให้ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์แก่เด็ก โดยที่เรานำการทดลองง่ายๆนำไปใช้จัดกิจกรรมให้กับเด็ก ให้เด็กได้เห็นถึงกระบวนการทดลอง แล้วจะนำมาซึ่งการสังเกต ตั้งสมมุติฐาน การทดลอง และการเก็บรวบรวมข้อมูล  เด็กจะเกิดคำถามว่า ทำไม WHY?  เมื่อทดลองเสร็จแล้วเด็กก็จะเกิดความเข้าใจ เราสามารถให้ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ได้จากการทดลองเพราะเด็กจะเรียนรู้ผ่านการเล่นการทดลองมากกว่าการท่องจำ






ประเมินตนเอง
วันนี้ตั้งใจทำกิจกรรม และจดจำขั้นตอน กระบวนการทดลอง เพื่อที่จะนำไปปรับใช้กับเด็ก

ประเมินเพื่อน
เพื่อนส่วนมากชอบการทดลองที่อาจารย์นำมา สนุกสนานและตื่นเต้นขณะทำการทดลอง

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ดี โดยนำการทดลองมาให้นักศึกษาร่วมกันทดลองและหาคำตอบ ซึ่งอาจารย์ต้องการสื่อให้นักศึกษาเห็นถึงกระบวนการทดลองทางวิทยาศาสตร์


วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 10





-วันนี้อาจารย์เริ่มต้นให้นักศึกษาที่ยังไม่นำเสนอสื่อ ออกมานำเสนอ แล้วออกมาอธิบายว่า สื่อของตนเองเป็นวิทยาศาสตร์ตรงไหน ?



-อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับวิธิการเขียนแผน โดยแบ่งหัวข้อเป็น 5 วัน ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้หัวข้อวันที่หนึ่ง
คือ ชนิดของส้ม และอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้เหมือนกัน คือ ชนิดของดิน




ซึ่งอาจารย์ได้ยกตัวอย่างการเขียนแผนในแต่ละวันให้นักศึกษาฟัง ดังนี้
เช่น เรื่องชนิดของไข่  วันที่ 1
ในการสอนจะมี 3 ขั้นตอน คือ

-ขั้นนำ
-ขั้นสอน
-ขั้นสรุป



อาจจะนำด้วยเพลงที่เกี่ยวกับชนิดของไข่  ปริศนาคำทาย  หรือภาพตัดต่อ ที่เร้าความสนใจให้เด็กว่าวันนี้เราจะมาเรียนเรื่องนี้กัน 
***การนำด้วยนิทาน จะไม่เหมาะสมเพราะยาวเกินไป นิทานควรใช้ในขั้นสอน ในวันที่พูดถึงประโยชน์/ข้อพึงระวัง จะดูน่าสนใจกว่า




ครูใช้คำถามกับเด็กว่า จากเพลงที่ครูร้องไปมีไข่อะไรบ้างคะ?  แล้วนอกเหนือจากเพลงที่ร้องเด็กๆรู้จักไข่อะไรบ้างคะ?  เด็กก็จะตอบจากประสบการณ์เดิมที่เขารู้จัก ซึ่งคำตอบของเด็กจะไม่ผิด แล้วครูก็จัดให้เด็กมีประสบการณ์ทางภาษา โดยการเขียน Mind map จากคำตอบที่เด็กตอบ บนกระดาน
 วันนี้ครูเอาไข่อะไรบ้างมาสอนเด็กๆแล้วให้เด็กๆทายจำนวนไข่ที่นำมา  เด็กจะเกิดความสนใจและอยากรู้      (สื่อ เอาเท่าที่เราหามาได้ ไม่ต้องเอามาหมด )

แล้วให้เด็กนับและบอกจำนวนไข่ ว่ามีทั้งหมดเท่าไหร่ เด็กจะได้ทักษะทางคณิตศาสตร์
การจำแนกแยกหมวดหมู่ ให้เด็กๆมาหยิบไข่ไก่ใส่ตะกร้า โดยใช้ชนิดของไข่เป็นเกณฑ์
การแยกเป็นการนับจำนวนสิ่งต่างๆออกจากกลุ่มใหญ่แล้วบอกจำนวนที่เหลือ (การลบ)
โดยให้เด็กจับคู่ของไข่สองชนิด ชนิดไหนหมดก่อน แสดงว่ามีจำนวนน้อยกว่า  ดังเช่น


**เด็กที่โตกว่านี้อาจจะให้จับคู่ทีละ สอง หรือ สาม ก็ได้




 -ครูถามเด็กว่า วันนี้รู้จักไข่อะไรบ้าง?
 -ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลงไข่อีกครั้ง




การนำไปประยุกต์ใช้

-สามารถนำสื่อที่เพื่อนนำเสนอในวันนี้ไปประยุกต์ใช้กับเด็กได้ เพราะเป็นสื่อที่เด็กสามารถทำเองได้ และเป็นวัสดุที่หาง่ายและเด็กรู้จัก ซึ่งเป็นสื่อที่สามารถเชื่อมโยงเข้าสู้สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้ เพราะได้ฝึกเด็กสังเกต และทดลอง เกี่ยวกับสื่อของตน

-สามารถนำวีธีการสอนที่อาจารย์สอนไปใช้สอนเด็กได้ เช่น เราสอนเด็กแค่เรื่องเดียวคือ หน่วยส้ม แต่เราสามารถให้เด็กมีประสบการณ์ด้านต่างๆเกี่ยวกับส้ม เช่น ชนิด  ลักษณะ  ประโยชน์ แล้วก็บูรณาการเข้าสู้สาระต่างๆเช่น  สาระคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และด้านภาษา





ประเมินตนเอง
วันนี้ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์สอนเรื่องแผน และมาเรียนตรงเวลา

ประเมินเพื่อน
เพื่อนส่วนมากตั้งใจเรียน และตั้งใจฟังอาจารย์สอนเรื่องแผน เพื่อที่จะนำไปปรับใช้กับแผนกลุ่มตนเองให้ดียิ่งขึ้น

ประเมินอาจารย์
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และให้โอกาสนักศึกษาในการนำเสนอสื่อของตนเอง ไม่ปิดกั้นความคิดของนักศึกษา เพื่อที่จะให้นักศึกษาได้คิดอย่างสร้างสรรค์  และอธิบายเรื่องแผนได้อย่างเข้าใจค่ะ





วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 9







วีธีการทำ



















อาจารย์ให้เพื่อนๆแต่ละคนนำเสนอสื่อทางวิทยาศาสตร์ของแต่ละคน
โดยให้นักศึกษาเชื่อมโยงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ว่าสื่อของตนเองเป็นวิทยาศาสตร์ตรงไหน
เช่น เรื่องของแรง แรงโน้มถ่วง ลม อากาศและการเคลื่อนที่
โดยประมวลภาพสื่อได้ดังนี้...................................


 
ผลงานของเพื่อนๆ




อาจารย์ให้นักศึกษาไปปรับปรุง my mapping แล้วนำขึ้นบล็อก เพื่อจะใช้ในการเขียนแผนและแบ่งการสอนของแต่ละวัน



                                       
กลุ่มส้ม

 แบ่งการสอนตามวันได้ดังต่อไปนี้

ชนิดของส้ม >>                     Sukhonthip  Homyen
ลักษณะของส้ม  >>              Jirasaya  Sattang
ประโยชน์และข้อพึงระวัง>>  Preeyanuch  Chontep
การเก็บรักษา   >>                Darawan  Glomchai
การขยายพันธุ์ >>                Natchalita  Suwanmanee

หมายเหตุ  อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มไปคิดสื่อการสอนสำหรับหน่วยที่จะสอน 2 ชิ้น (สื่อต้องสัมพันธ์กับเรื่องที่จะสอน)



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

จากกิจกรรมที่นำเสนอสื่อของเพื่อนๆในวันนี้ เราสามารถนำไปใช้กับเด็กได้ โดยให้เด็กได้ลองทำลองเล่นด้วยตนเอง ด้วยอุปกรณ์ง่ายๆ วัสดุเหลือใช้ต่างๆที่เด็กรู้จัก ให้เขาได้ค้นพบการเล่นและข้อผิดพลาดด้วยตนเอง และข้อผิดพลาดที่เขาค้นพบนั้นจะนำมาซึ่งการแก้ไข
เช่น เราสอนเด็กทำไหมพรมเต้นระบำ อันดับแรกเด็กก็จะเกิดความภูมิใจในตนเองเพราะเขาได้สร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง  แล้วเราก็ให้เด็กๆลองคิดค้นหาวิธีเล่นว่าสามารถเล่นได้กี่วิธี เช่น เล่นโดยการเป่าลมผ่านหลอด แล้วไหมพรมก็จะเต้น ถ้าเด็กๆอยากให้ไหมพรมเต้นแรงหรือเต้นไปไกล เด็กก็อาจจะลองเป่าลมแรงๆดู เด็กเขาจะเกิดการค้นพบวิธีการเล่นด้วยตนเอง แล้วเราก็เริ่มเข้าสู่เนื้อหาวิทยาศาสตร์เรื่อง ลม  อาจจะใช้คำถามกับเด็กว่า   ทำไมไหมพรมถึงเต้น?  





 ประเมินตนเอง  วันนี้ตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนอ และเก็บทักษะในการทำสื่อต่างๆ ไปปรับปรุงของตนเอง
เนื่องจากวันนั้นไม่ได้นำสื่อมานำเสนอค่ะ

ประเมินเพื่อน   เพื่อนส่วนมากนำเสนอสื่อที่น่าสนใจ  สามารถนำไปใช้กับเด็กได้จริง

ประเมินอาจารย์  อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้Present สื่อที่นำนำ แล้วพยายามใช้คำถามกระตุ้นเพื่อให้นักศึกษาเชื่อมโยงระหว่างสื่อและวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกัน  และฝึกให้นักศึกษาคิดเชิงวิทยาศาสตร์ คือเวลาพูดถึงเรื่องอะไรควรมีอ้างอิง
  เช่น พูดถึงแรงโน้มถ่วง ควรอ้างอิงถึง เซอร์ ไอแซก นิวตัน





วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่8




ไม่มีการเรียนการสอน เพราะอยู่ในช่วงสอบกลางภาค