วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 16







วันนี้เพื่อนๆ นำเสนอบทความและวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย 
ซึ่งถือเป็นประโยชน์ในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยมาก

วิจัย การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความพร้อมของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โครงการจัดประสบการณ์แบบโครงการ



อาจารย์ให้คะแนะนำว่าเป็นการเรียนรู้แบบโครงการแต่อาจจะไม่ใช่   Project Approach


เนื่องจากโปรเจคต้องใช้เวลาสอนนานประมาณ 5-6 สัปดาห์ต่อ 1 หน่วย เพราะจะต้องเรียนแบบเจาะลึกเรื่องนั้นๆ





อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มทำแผ่นพับ สานสัมพันธ์บ้านและโรงเรียน  
กลุ่มดิฉันได้ทำหน่วยส้ม ซึ่งมีเนื้อหา ดังนี้






การนำไปประยุกต์ใช้

             สามารถนำแนวทางการจัดประสบการณ์จากวิจัยและโทรทัศน์ครูที่เพื่อนนำเสนอในวันนี้ไปใช้ในการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ให้กับเด็กได้ โดยอาจจะใช้จัดการเรียนรู้แบบโครงการหรือProject Approach  ซึ่งให้เด็กได้เรียนรู้ในเรื่องที่จะสอนอย่างลึก โดยให้เด็กได้นำเสนอหัวข้อในการเรียนร่วมกับเพื่อน และขั้นพัฒนา เด็กจะได้เรียนรู้อย่างเต็มที่ ได้ทักษะสังเกต เปรียบเทียบ คาดคะเน และการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นในการทำกิจกรรม ซึ่งครูจะมีหน้าที่จัดหาสื่ออุปกรณ์เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างเต็มที่ และมีเทคนิคการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น พาเด็กออกภาคสนาม เชิญชวนผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ หรือสร้างผลงานจากหน่วยที่เรียนด้วยตัวของเขาเอง

          สามารถนำวิธีการทำแผ่นพับไปใช้ในการ สานสัมพันธ์กับผู้ปกครองเด็กได้ ขอความร่วมมือเกี่ยวกับสื่อที่ต้องใช้ในการจัดกิจกรรม โดยจะมีแผ่นพับให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับเทคนิคการจัดกิจกรรมให้กับลูกง่ายๆโดยที่ผู้ปกครองสามารถปฎิบัติกับลูกได้ แผ่นพับให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของเด็ก ซึ่งการทำแผ่นพับถือเป็นประโยชน์ต่อดิฉันมากในการนำไปใช้ในอนาคตการเป็นครูปฐมวัย





 ประเมินตนเอง 
 ตั้งใจทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนในกลุ่ม และนำคำแนะนำจากอาจารย์มาปรับใช้ให้ดียิ่งขึ้น

ประเมินเพื่อน
    เพื่อนส่วนมากตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
    เพื่อนในกลุ่ม ช่วยกันระดมความคิดภายในกลุ่มให้ผลงานออกมาดี

ประเมินอาจารย์  
 อาจารย์ให้คำแนะนำนักศึกษาเพิ่มเติมเสมอหลังจากที่นำเสนอโทรทัศน์ครูและวิจัยเสร็จและกระตุ้นให้นักศึกษาร่วมกันวิเคราะห์เนื้อหาที่เพื่อนนำเสนอ อาจารย์มีเทคนิคการใช้คำถามกระตุ้นให้นักศึกษาต่อ ยอดความคิดไปให้ไกล และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำแผ่นพับที่ถูกต้องค่ะถือเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษามาก


วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

THAILIS






ผู้วิจัย ชยุดา  พยุงวงศ์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปี 2551

ความมุ่งหมายของการวิจัย
1 เพื่อศึกษาผลของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
2 เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบนักวิจัยก่อนและหลังทดลอง


นิยามศัพท์เฉพาะ

เด็กปฐมวัย   เด็กปฐมวัย ชาย หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี

ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์  ความสามารถในการค้นคว้าหาความรู้อย่างเป็นกระบวนการ ผ่านการฝึกฝนและปฏิบัติโดยใช้แบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
โดยแยกเป็น 5 ด้านดังต่อไปนี้
ทักษะการสังเกตุ
ทักษะการจำแนกประเภท
ทักษะการสื่อความหมาย
ทักษะการลงความเห็น
ทักษะการพยากรณ์

การจัดการเรียนรู้แบบนักวิจัย  การจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนมีความสำคัญเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ซึ่งผู้เรียนจะได้เรียนรู้เรื่องที่ตนสนใจ ได้ลงมือค้นคว้า แสวงหาความรู้ เด็กจะได้สร้างองค์ความรู้ พร้อมกับแก้ปัญหาและค้นพบสิ่งใหม่ๆ






ขั้นตอนและกระบวนการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย









ตัวอย่างแผน
ขั้นเด็กค้นคว้าวิจัยหาความรู้ : ศึกษาจากไข่ชนิดต่างๆ
กิจกรรมการเรียนการสอน สถานการณ์
จุดประสงค์
1. ส่งเสริมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
2. ส่งเสริมให้เด็กสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา
3. ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการสังเกตสิ่งต่างๆ





การดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ
สร้างบรรยากาศในชั้นเรียนโดยการร้องเพลง หรือท่องคำคล้องจอง
เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก


ขั้นสอน
1. ครูจัดเด็กออกเป็น 4 กลุ่มนั่งล้อมรอบกันเป็นวงกลม
2. ครูนำ ไข่ชนิด ต่างๆได้แก่ ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่นกกระทา ไข่เค็ม ไข่
เยี่ยวม้า ให้เด็กๆสังเกตความแตกต่าง
3. เด็กและครูร่วมกันสนทนาถึงความแตกต่างของไข่ทั้ง 3 ชนิด
พร้อมๆกัน โดยถามคำถามดังนี้
- ให้เด็กบอกว่าไข่แต่ละชนิดมีชื่อว่าอะไร
- ให้เด็กอธิบายๆลักษณะของไข่แต่ละชนิดว่าแตกต่างกันอย่างไร
- ให้เด็กสังเกตว่าลักษณะของไข่แต่ละชนิดเป็นอย่างไร
- ให้เด็กๆช่วยกันคิดว่านอกจากไข่ 5 ชนิดนี้แล้วมีไข่อะไรอีกบ้าง
4. เปิดโอกาสให้เด็กพูดคุยกันและซักถาม


ขั้นสรุป
เด็กและครูร่วมกันท่องคำคล้องจอง “ไข่”

สื่อ / อุปกรณ์
ไข่ไก่, ไข่เป็ด, ไข่นกกระทา, ไข่เค็ม, ไข่เยี่ยวม้า


สรุป
เด็กสังเกตลักษณะของไข่แต่ละชนิด พร้อมตั้งคำถาม


***สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเด็กปฐมวัยได้โดยใช้ในการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์สาระวิทยาศาสตร์จะทำให้เด็กเกิดทักษะต่างทางทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง จากการลงมือปฏิบัติ และควรหาสื่อที่หลากหลายและน่าสนใจมาใช้ในการจัดประสบการณ 


Teachers TV






 โทรทัศน์ครู  ไฟฟ้าและพันธุ์พืช
โดย อาจารย์สมาน  เลิศทหาร

โดยโทรทัศน์ครูเป็นการเรียนการสอนของเด็กประถมศึกษา แต่เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับเด็กปฐมวัยค่ะ

จะสอนเด็กเรื่องการเจริญเติบโตของพืช โดยใช้สื่อการเรียนรู้นอกห้องเรียน และให้นักเรียนสังเกตการเจริญเติบโตของพืช จากนั้นให้เด็ก ทดลองเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เรื่องไฟฟ้าและพันธุ์พืช ซึ่งจากที่เด็กได้ลงมือกระทำแล้ว มีสื่อ มีอุปกรณ์ให้เด็กได้ทำการทดลองก็จะเกิดทักษะกระบวนกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยครูมีหน้าที่ให้คำปรึกษา ซึ่งครูจะไม่ได้บอกวิธีการไปหมด แต่ครูจะค่อยๆบอกเพื่อให้เด็กเป็นแนวทางได้คิด โดยให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองเมื่อเขาพบปัญหาในการทำก็จะมาปรึกษาครู และเขาจะเกิดกระบวนการคิดแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นความรู้ที่ยั่งยืน เพราะเขาได้ค้นพบด้วยตนเอง
เมื่อเด็กทำการทดลองเสร็จก็จะมีผู้เชี่ยวชาญด้านการทดลองมาสรุปการทดลองทั้งหมดอีกครั้ง 


อุปกรณ์ในการทดลอง
ถ่านไฟฉาย
สายไฟ
เมล็ดผักบุ้ง
กระถางดิน

วิธีการทดลอง
1 นำเมล็ดผักบุ้งเพาะลงในกระถาง 
2 นำสายไฟต่อเป็นกระแสไฟฟ้ากับถ่นไฟฉาย โดยนำสายไฟด้านหนึ่งใส่เข้าไปในกระถางแล้วนำดินกลบ
สายไฟอีกด้านที่เชื่อมต่อกับถ่านไฟฉาย เอาไว้ด้านนอกกระถาง
3 รดน้ำและสังเกตการเจริญเติบโตของพืชทุกๆ 3 วัน




ข้อควรระวัง
การนำการทดลองไปใช้กับเด็กปฐมวัย ครูควรดูแลความปลอดภัยเด็กอย่างใกล้ชิด


การนำไปประยุกต์ใช้กับเด็กปฐมวัย
นำกระบวนการทดลองไปใช้ได้ สอนเรื่องหน่วยต่างๆ ธรรมชาติรอบตัวเด็ก แล้วนำการทดลองเข้ามาใช้
โดยมีสื่อ อุปกรณ์ ให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ให้ค้นพบด้วยตนเอง เด็กจะเกิดกระบวนการคิดแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก  เด็กก็จะเกิดองค์ความรู้ที่ยั่งยืนเพราะเขาได้ค้นพบด้วยตนเอง และเกิดความภูมิใจในตนเอง



วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 15





วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาบอกเกี่ยวกับข้อสงสัยในการเขียนแผนการสอน กิจกรรมเสริมประสบการณ์วิทยาศาสตร์ ว่าแต่ละคนมีข้อสงสัยในหัวข้อใด แล้วอาจารย์ก็อธิบายเพิ่มเติมพร้อมสรุปให้นักศึกษาฟัง


อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอสื่่อวิทยาศาสตร์พร้อมจัดหมวดหมู่ของสื่อว่าอยู่ในหมวดหมู่ใด
ซึ่งจำแนกได้ดังนี้


สรุปการจัดหมวดหมู่สื่อวิทยาศาสตร์


              

ภาพกิจกรรม



จากนั้นเพื่อนๆก็ออกมานำเสนอโทรทัศน์ครูและวิจัย

โทรทัศน์ครู เรื่องสมบัติของสาร (การละลายของสาร)  ( Properties of Matter)
คุณครูอังศนา  มาทอง
ผู้นำเสนอ....นางสาวเบญจมาศ  บริบูรณ์

ครูเริ่มจากการเชื่อมโดยงจากสิ่งแวดล้อมเข้ากับการทดลอง นำเข้าสู่บทเรียนโดยให้เด็กมีส่วนร่วมในการทดลองให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ ได้บันทึกการทดลอง และให้เด็กออกมาพูดสรุปเกี่ยวกับความรู้ที่ได้ ผลของการทดลองเป็นอย่างไรพร้อมทั้งครูให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
 อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง (Equipment)
-น้ำตาล   (Sugar)
-เกลือ    (Salt)
- โฟม     ( Form)
-ทราย    ( Sand)
-ตะปู        (Tack)
-ผงซักฟอก ( Detergent)

โดยนำอุปกรณ์เหล่านี้ทดลองโดยการละลายน้ำ และให้เด็กสังเกตการละลายของสาร

สรุปผลการทดลอง
น้ำตาล กับ เกลือ สามารถละลายน้ำได้
โฟม ตะปู  ทราย   ไม่ละลายน้ำ
ผงซักฟอก  ละลายน้ำได้ดี

คำแนะนำจากอาจารย์
ในการเอาไปใช้กับเด็กปฐมวัย ควรจะเสริมเรื่อง สารพิษจากผงซักฟอก ถึงแม้ผงซักฟอกจะละลายน้ำได้ดี แต่เราก็ไม่ควรนำน้ำผงซักฟอกเททิ้งในแม่น้ำลำคลอง หรือนำไปรดน้ำต้นไม้ เพราะจะทำให้แม่น้ำมีสารตกค้างอันตราย ซึ่งเป็นอันตรายต่อสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำ ซึ่งจะเกิดผลกระทบตามมาทีหลัง








ภาพกิจกรรมการนำเสนอบทความและวิจัย










                                          


วัสดุ อุปกรณ์

-น้ำหวาน ( Nectar)
-น้ำ           (Water)
-เกลือ       ( Salt)
-น้ำแข็ง     ( Ice)
-ถุง หนังยาง  ( Bag  ) 
-หม้อ       ( Pot)
-ช้อนตักน้ำหวาน  ( Spoon)






ขั้นตอนการทำ
1 นำน้ำหวานผสมกับน้ำ คนให้ได้ความหวานตามที่ชอบ
2 ตักน้ำหวานใส่ถุงแล้วรัดด้วยหนังยางให้แน่น
3 นำไปวางลงในหม้อ นำน้ำแข็งใส่ลงไปในหม้อให้ท่วมถุงน้ำหวาน แล้วนำเกลือเม็ดโรยลงไป 3 ช้อนโต๊ะ
4 หมุนหม้อ ประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้น้ำแข็งและเกลือละลาย เพื่อที่หวานเย็นจะแข็งตัว





ทำไมน้ำหวานถึงแข็งตัว ?






การนำไปประยุกต์ใช้
          จากการจัดหมวดหมู่สื่อวิทยาศาสตร์  นำไปประยุกต์ใช้กับเด็กปฐมวัยได้ ให้เด็กได้ทำของเล่นวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง หัดคิดค้นวิธีการเล่นด้วยตนเอง โดยสื่อง่ายๆจากที่เพื่อนนำเสนอในวันนี้บางชิ้นสามารถนำไปใช้ได้กับเด็ก เมื่อให้เด็กทำสื่อแร้วควรใช้คำถามชวนคิดกับเด็ก เช่น เด็กๆคิดว่าสื่อชิ้นนี้เล่นอย่างไร   ทำไมถ้วยถึงกระโดดได้ จากสื่อถ้วยกระโดดได้
       จากที่เพื่อนๆนำเสนอโทรทัศน์ครูและวิจัยสามารถนำไปปรับใช้ในกิจกรรมการทดลองให้กับเด็กได้ จะมีวิธีการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก โดยให้เด็กได้ทดลอง สังเกตการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเอง ได้ลองผิดลองถูก จะนำมาซึ่งการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง แล้วจะมีผู้เชี่ยวชาญหรือครูมาอธิบายเกี่ยวกับผลของการทดลองให้กระจ่างอีกครั้ง 



การทดลองเปลี่ยนสถานะของน้ำ  นำไปใช้จัดกับเด็กได้จริง แต่ถ้าจำนวนเด็กเยอะควรแบ่งเด็กออกเป็น กลุ่มหรือเป็นฐาน เพื่อให้เด็กแต่ละกลุ่มได้หมุนเวียนกันทำให้ครบทุกฐาน โดยมีครูเป็นผู้ให้ความสะดวกและดูแลความปลอดภัย เด็กจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง





ประเมินตนเอง
ตั้งใจทำกิจกรรมในห้อง และตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ

ประเมินเพื่อน
เพื่อนส่วนมากร่วมทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน มีความสามัคคีภายในห้องและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีเทคนิคในการสอน โดยนำกิจกรรมที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การทดลอง มาให้นักศึกษาได้ทดลอง ทำให้สนุกและได้ประสบการณ์ความรู้ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ได้กับเด็กในวันข้างหน้า












วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่14






วันนี้กลุ่ม ชนิดของดิน
                ประโยชน์ของสัปะรด ได้นำเสนอแผน ซึ่งอาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติม







1 ครูและเด็กท่องคำคล้องจองชนิดของดิน
2 ครูถามเด็กจากคำคล้องจองมีดินอะไรบ้าง และนอกจากคำคล้องจองเด็กๆรู้จักดินอะไรบ้าง









1 ครูนำดินมาให้เด็กสังเกตหลายชนิด  แล้วถามเด็กว่าเป็นดินชนิดใดจนครบจากนั้นให้เด็กนับดินทั้งหมดพร้อมกำกับด้วยเลขฮินดูอารบิก

2 ครูให้เด็กออกมาหยิบดินเหนียวออกจากกลุ่มให้หมด จากนั้นถามเด็กว่าดินเหนียวกับที่ไม่ใช่ดินเหนียวดินชนิดไหนมากกว่ากัน   ขั้นอนุรักษ์ คือเด็กตอบตามที่ตาเห็น

3 ครูให้เด็กออกมาหยิบดินเหนียวและที่ไม่ใช่ดินเหนียวโดยการจับคู่ 1 ต่อ 1  ดินชนิดไหนหมดก่อนแสดงว่าน้อยกว่า ดินชนิดไหนยังเหลือแสดงว่ามากกว่า แล้วให้เด็กนับจำนวนที่เหลือว่ามากกว่าเท่าไหร่








ครูและเด็กร่วมกันท่องคำคล้องจองอีกครั้ง


คำแนะนำจากอาจารย์
-ดินที่นำมาสอนเด็กควรใส่ถุงมา ไม่ควรใส่แก้วพลาสติก เพราะเด็กจะแยกชนิดของดินไม่ออก
-คำคล้องจองสามรถร้องเป็นเพลงได้











1 ครูเล่านิทานเกี่ยวกับ ประโยชน์ของสับปะรดให้เด็กฟัง

2 ครูถามเด็กจากนิทานสับปะรดมีประโยชน์อะไรบ้าง  และนอกจากนิทานเด็กรู้จักประโยชน์ของสับปะรดอะไรบ้าง









1 ครูนำภาพแม่ค้าขายสับปะรดมาให้เด็กดูแล้วถามเด็กว่าจากภาพเด็กๆเห็นอะไร(สนทนาเกี่นวกับอาชีพแม่ค้าขายสับปะรด) แล้วถามเด็กว่า สับปะรดมาจากไหน

2 ครูนำภาพคนสวนปลูกสับปะรดมาให้เด็กดู แล้วสนทนาเกี่ยวกับอาชีพคนสวน และอาชีพคนขับรถขนสับปะรด

3 ครูนำภาพโรงงานผลิตสับปะรดกวนมาให้เด็กดู แล้วสนทนาเกี่ยวกับประโยชน์ด้านแปรรูปสับปะรด และอาชีพพนักงานทำสับปะรดกวน









ครูและเด็กทบทวนเกี่ยวกับนิทานประโยชน์ของสับปะรด และให้เด็กลงความเห็นว่าพรุ่งนี้จะประกอบอาหารอะไรเกี่ยวกับสับปะรด โดยให้เด็กเลือกนำภาพอาหารที่ทำจากสับปะรดมาติดหน้ากระดาน









วันนี้อาจารย์ให้ทำวาฟเฟิล โดยแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน
ให้ตัวแทนของกลุ่มออกมารับอุปการ์ในการทำ
โดยอาจารย์จะให้เห็นถึงกระบวนการการประกอบอาหารแต่ละขั้นตอน

อุปกรณ์ในการทำ
แป้ง        ไข่ไก่    น้ำ
นมสด      ที่ตีไข่
เนย        กระทะวาฟเฟิล
ถ้วย        ช้อน

วิธีการทำ
1 เทแป้งใส่ถ้วย นำน้ำผสมเล็กน้อย คนให้เป็นเนื้อเดียวกัน
2 นำไข่ไก่ นมสด เนย ใส่ลงไปในถ้วย ตีให้ละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน
3 ตักใส่ถ้วยเล็กแล้วนำไปอบในกะทะทำวาฟเฟิล



ภาพกิจกรรม




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

สามารถนำไปใช้ในการจัดประสบการการประกอบอาหารให้กับเด็ก โดยพัฒนาทักษะได้หลายด้าน
โดยเฉพาะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เด็กชอบเพราะเด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตัวของเขาเอง ได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงซึ่งจะนำพาซึ่งการแก้ไขปัญหา

สามารถนำการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ไปใช้ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก โดยเลือกหน่วยที่เด็กสนใจและอยากเรียน จากนั้นบูรณาการทักษะให้ได้หลายๆด้านเหมือนที่อาจารย์สอน เด็กก็จะเกิดองค์ความรู้ที่หลากหลาย 1 กิจกรรม สามารถบูรณาการได้หลายทักษะ










ประเมินตนเอง
ร่วมทำกิจกรรม ตั้งใจฟังครูสอน

ประเมินเพื่อน
เพื่อนสนุกสนานกับการทำกิจกรรม ประกอบอาหาร

ประเมินอาจารย์
อาจารย์ได้แนะนำเกี่ยวกับวิธีการสอนให้นักศึกษาฟังเพื่อที่นักศึกษาจะสามารถนำไปใช้ได้จริงค่ะ






วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 13







-วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอแผนที่เตรียมมา
ซึ่งกลุ่มของดิฉัน สอนหน่วยส้ม (orange) 
 วันที่ 1 ชนิดของส้ม  (kind of orange) ใช้สอนเด็กอายุ 5 ปี ดังต่อไปนี้




1. ครูและเด็ก ร้องเพลงประกอบท่าทาง เพลง ชนิดของส้ม 
***ส้ม ส้ม ส้ม                        หนูรู้จักส้มหรือเปล่า
    ส้มมีหลากหลายไม่เบา     ทั้งส้มเขียวหวานส้มจีน
อีกทั้งส้มเช้ง โชกุน           หนูๆลองทานส้มเอย
2. ครูถามเด็กว่า จากเพลงที่ร้องมีส้มอะไรบ้าง  และเด็กๆรู้จักส้มอะไรบ้าง



1. นำตะกร้าโดยมีผ้าปิดไว้มาให้เด็กดู จากนั้นให้เด็กทายว่าข้างในตะกร้ามีอะไร
2. ครูหยิบส้มจากตะกร้าให้เด็กสังเกตและตอบว่าเป็นส้มชนิดใดจนครบ
3. ครูให้เด็กนับส้มทั้งหมด พร้อมให้ตัวแทนออกมาหยิบป้ายตัวเลขฮินดูอารบิกปักกำกับไว้
4. ครูให้เด็กหยิบส้มแมนดารินแยกออกจากกลุ่มจนหมด  แล้วถามเด็กๆว่าส้มแมนดาริน กับที่ไม่ใช่ส้มแมนดาริน ส้มชนิดไหนมากกว่ากัน
5. ให้เด็กออกมาจับคู่แบบ 1 ต่อ 1  ถ้ากลุ่มใดหมดก่อนแสดงว่ากลุ่มนั้นน้อยกว่า  ถ้ากลุ่มใดยังเหลือแสดงว่ากลุ่มนั้นมากกว่า  แล้วนับจำนวนที่เหลือว่ามากกว่าเท่าไหร่



ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลงชนิดของส้ม และร่วมกันต่อจิ๊กซอร์รูปส้ม


หมายเหตุ จากแผนดังกล่าวกลุ่มของดิฉันได้ปรับปรุงเนื้อหาแผนตามที่อาจารย์แนะนำให้ดียิ่งขึ้นแล้วค่ะ


ภาพการสอนกลุ่มส้ม





หน่วยดิน (soil ) ชนิดของดิน
**อาจารย์แนะนำกระบวนการสอนคล้ายๆกลุ่มส้ม โดยถามเด็กๆว่ารู้จักดินชนิดไหนบ้าง
จากนั้นก็นำดินแต่ละชนิดใส่ถุง แล้วนำมาให้เด็กได้นับจำนวน เปรียบเทียบมากกว่า น้อยกว่า ของดินแต่ละชนิด






หน่วยทุเรียน( Durian)  ลักษณะของทุเรียน



 ** อาจารย์แนะนำการสอนเกี่ยวกับ วันที่ 2 ลักษณะของทุเรียน โดยแนะนำให้เกี่ยวกับการเลือกหน่วยที่จะสอน ต้องสัมพันธ์กับลักษณะของจังหวัดหรือที่อยู่อาศัยของเด็ก  เช่นทุเรียน จะปลูกแถวจันทรบุรี ซึ่งจะเหมาะสมมากถ้านำหน่วยทุเรียนมาสอน เพราะหาสื่อจริงได้ง่าย
                และการเลือกเปรียบเทียบทุเรียน ควรเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะแตกต่างกัน เช่น พันธุ์หมอนทอง กับพันธุ์กะดุม  แล้วให้เด็กบอกลักษณะของทุเรียนแต่ละชนิด บอกสี ขนาด ส่วนประกอบ เป็นต้น
จากนั้นบันทึกคำตอบของเด็กลงตาราง  แล้วให้เด็กออกบอกส่วนที่เหมือนกับส่วนที่ต่างกันของทุเรียน
ลงใน เซต อินเตอร์เซก






หน่วยมด (Ant) ลักษณะของมด


** กลุ่มนี้มีการเตรียม เพลงและเนื้อหาและสื่อมาดีค่ะ  โดยเปรียบเทียบลักษณะของ มดดำกับมดแดงว่ามีส่วนไหนที่เหมือนและต่างกันบ้าง
อาจารย์แนะนำเรื่องกลิ่นของมด ไม่ควรนำมาเปรีบยเทียบ เพราะเด็กไม่สามารถดมกลิ่นมดได้ 




หน่วยน้ำ (water) การทดลองเกี่ยวกับน้ำ



กลุ่มนี้จะทดลองโดยให้เด็กเห็นเกี่ยวกับคุณสมบัติของน้ำ
โดยการเทน้ำปริมาณเท่ากัน แต่ใส่ในภาชนะที่แตกต่างกัน จะทำให้น้ำมีรูปร่างที่แตกต่างกัน
น้ำมีรูปร่างที่เปลี่ยนแปลงตามภาชนะ

และทดลองการไหลของน้ำ คือน้ำไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ โดยกลุ่มนี้ใช้แนวคิดเดียวกันกับ น้ำตก

การทดลอง นำน้ำแข็งมาปะกบกับเชือกและใส่เกลือ น้ำแข็งเกาะติดกับเชือกสามารถยกเชือกขึ้นโดยน้ำแข็งไม่หลุดออกจากเชือก โดยเกลือจะทำปฏิกิริยากับน้ำแข็ง

กลุ่มนี้อาจารย์แนะนำ กิจกรรมควรทำเป็นฐานแต่ละฐาน เพื่อให้เด็กได้ทดลองทุกๆฐาน





อาจารย์ให้ทำกิจกรรมประกอบอาหาร โดยให้แบ่งเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คน
ฐานที่ 1 ตัดกระดาษรองไข่
ฐานที่  2  หั่นผัก
ฐานที่ 3  ตอกไข่ ตีไข่ 
ฐานที่ 4  ปรุงรสชาติ
ฐานที่ 5  ทำไข่หรรษา

**โดยให้แต่ละกลุ่มหมุนเวียนกันทำให้ครบทุกฐาน


ภาพกิจกรรม






การนำไปประยุกต์ใช้

สามรถนำกระบวนการสอนที่อาจารย์แนะนำในวันนี้ ไปใช้จัดประสบการณ์การสอนโดยบูรณาการหลายด้าน คือ 1 หน่วย บูรณาการได้หลายกิจกรรม 
นำไปประยุกต์ใช้สอนเด็กโดยเลือกหน่วยให้เหมาะสมกับเด็ก แบ่งจัดประสบการณ์ทั้ง 5 วัน แล้วใช้กระบวนการสอน การบูรณาการ ตามที่อาจารย์แนะนำค่ะ







ประเมินตนเอง
ยังไม่ค่อยพร้อมเรื่องสื่อในการสอน วิธีการพูดกับเด็กยังไม่ค่อยเป็นธรรมชาติ แต่ก็เตรียมกระบวนการสอนมาและบูรณาการได้หลายด้าน

ประเมินเพื่่อน
เพื่อนในกลุ่ม มีความสามัคคี ช่วยคิดแผน และทำสื่อที่จะมาสอนในวันนี้
เพื่อนในห้อง  เพื่อนส่วนมากตั้งใจฟังที่อาจารย์แนะนำแผนแต่ละวันเพื่อไปปรับใช้ในกานสอนครั้งต่อไป

ประเมินอาจารย์
อาจารย์แนะนำเกี่ยวกับกระบวนการสอน และการบูรณาการสู่วิชาต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษามาก
และอาจารย์ก็ให้โอกาสกับกลุ่มที่สอนไม่ผ่านให้มีโอกาสได้แก้ตัวหลังจากที่แนะนำไปแล้ว