วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่7






กิจกรรมลูกยาง^^

อาจารย์แจกกระดาษให้แต่ละแถว แล้วให้ตัดแบ่งกัน ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็กๆแล้วให้พับครึ่ง
แถวที่1-2 ใช้กรรไกรตัดมาจนถึงรอยพับ แล้วพับอีกด้านหนึ่งของกระดาษขึ้นมา
แถวที่3-4 ตัดเท่าครึ่งเดียวของแถว 1-2  แล้วพับอีกด้านหนึ่งของกระดาษขึ้นมาแล้วติดคริป


อาจารย์ให้เพื่อนๆออกมาสาธิตวิธีการเล่นของแต่ละแถว
โดยแต่ละแถวออกมาโยนลูกยาง เกิดคำถามว่าทำไมลูกยางที่โยนถึงร่วงลงพื้นเร็ว ซึ่งได้ระดมความคิดภายในห้อง อาจจะเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
-เกิดจากแรงในการโยน
-เกิดจากหมุนน้อย เลยลงเร็ว
-เกิดจากการพับกระดาษ
-เกิดจากการตัดกระดาษสั้น เรยทำให้มีพื้นที่น้อย
อาจารย์ให้นักศึกษาได้ค้นพบตัวเองโดยการลงมือกระทำ ทดลอง และนำมาซึ่งการแก้ไขที่ดี


 โดยส่วนมากนักศึกษาจะเล่นโดยการโยน
อาจารย์จึงกล่าวว่า การจัดประสบการณ์จะเกิดขึ้นจากการค้นพบตัวเอง เกิดจากการกระทำของตนเอง นักศึกษาแต่ละแถวออกมาโยน วิธีการโยน จะค้นพบตัวเองว่าโยนอย่างไรถึงจะให้ลูกยางลอยในอากาศนานที่สุด และนักศึกษามักจะเลียนแบบวิธีการโยนจากเพื่อนเนื่องจากกลัวผิด ซึ่งวิธีการโยนสามารถโยนได้หลายแบบ กิจกรรมนี้สามารถเล่นได้หลายแบบ อาจจะโยนมาจากข้างหลัง หรือขว้างก็ได้ แต่นักศึกษาเลือกที่จะโยนแบบเดียวกัน






อาจารย์ให้ทำของเล่นทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้แกนกระดาษทิชชู










การนำไปประยุกต์ใช้

สามารถนำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็ก โดยให้เด็กได้เป็นผู้สร้างสรรค์ผลงาน ทดลอง ลองผิดลองถูก จนได้ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง รางวัลที่ดีที่สุดคือ เด็กได้ค้นพบข้อสงสัยด้วยตัวของเขาเอง
และสามารถนำสื่อ อุปกรณ์ที่เหลือใช้ เช่น กระดาษ แกนทิชชู มาประดิษฐเป็นสื่อในการสอนได้
ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่เหลือใช้ มาให้เด็กได้สร้างสรรค์ผลงาน ทำให้เด็กมีความภูมิใจในตนเอง





ประเมินตนเอง    ตั้งใจสร้างสรรค์ผลงาน และช่วยระดมความคิดภายในห้อง เกี่ยวกับทำไมลูกยางถึงตกถึงพื้นเร็ว ร่วมตอบคำถามเกี่ยวกับบทความของเพื่อน

ประเมินเพื่อน    เพื่อนส่วนมากตั้งใจเรียน สร้างสรรค์ผลงานออกมาจากความคิดสร้างสรรค์

ประเมินอาจารย์   อาจารย์มีเทคนิคการสอนโดยการให้นักศึกษาสร้างสรรค์ผลงาน แล้วออกมาสาธิตวิธีการเล่น โดยให้นักศึกษาค้นพบวิธีการเล่นที่ถูกด้วยตนเอง ซึ่งเข้าเรื่องเนื้อหา ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตนเอง  อาจารย์มีการต่อยอดและกระตุ้นความคิดนักศึกษาระหว่างทำกิจกรรม


วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่6











กิจกรรมในวันนี้

อาจารย์ให้นักศึกษาทำสื่อด้วยตนเอง โดยอาจารย์ไม่ปิดกั้นความคิดของนักศึกษา โดยให้วาดรูปใส่กระดาษสองข้าง เป็นรูปอะไรก็ได้ที่สัมพันธ์กัน แล้วนำไม้เสียบลูกชิ้นมาติดตรงกลาง ติดกาวทั้งสองด้าน แล้วก็หมุน จะเห็นเป็นรูปที่เราวาดซ้อนกันอยู่




สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ ได้เรียนรู้จากสังเกตการวาดภาพ เช่น ภาพไข่อยู่บนกอหญ้า ด้านหนึ่งจะต้องวาดไข่ไว้ด้านบนอีกด้านหนึ่งจะต้องวาดกอหญ้าไว้ด้านล่าง เพราะไข่วางอยู่บนกอหญ้า เวลาหมุนจึงจะเห็นเป็นภาพไข่วางอยู่บนกอหญ้า ภาพจะสัมพันธ์กัน












งานกลุ่มของเพื่อนๆ







https://www.gotoknow.org/posts/504326
คลิ๊กที่นี่เลย



การนำไปประยุกต์ใช้

สมารถนำไปจัดกิจกรรมให้เด็ก โดยให้เด็กเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง โดยที่ครูจะไม่ปิดกั้นความคิดของเด็ก อาจจะจัดกิจกรรมศิลปะบูรณาการให้เด็กได้ จะช่วยพัฒนาเด็กครบองค์รวม ให้เด็กกล้าที่จะใช้ความคิด และสร้างสรรค์ผลงานเป็นของตนเอง เขาจะเกิดความภูมิใจและรู้สึกดีต่อตนเองมาก




ประเมินตนเอง วันนี้ตั้งใจเรียน มาเรียนตรงเวลา และร่วมทำกิจกรรมตอบคำถามกับเพื่อนๆและอาจารย์

ประเมินเพื่อน  เพื่อนตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์สอน และร่วมทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ

ประเมินอาจารย์  อาจารย์มีเทคนิคการสอนโดยใช้สื่อ ให้นักศึกษาสร้างสรรค์ชิ้นงานเป็นของตนเองแล้วเชื่อมโยงเข้ากับเนื้อหาที่จะสอนได้ดีมากค่ะ



วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่5





   




สรุปจากบทความที่เพื่อนนำเสนอ
** เครื่องมือในการเรียนรู้ของเด็ก คือ ประสาทสัมผัสทั้ง5
เพลงจะเป็นสื่อให้เด็กได้ความรู้ในเนื้อหา เช่นสอนเรื่องเต่า พาเด็กร้องเพลงเต่า

เพลงเต่า
   เต่า เต่า เต่า                     เต่ามันมี4ขา
                   สี่ตีน(เท้า)เดินมา             มันทำหัวผุดผุด โผล่โผล่
**เด็กจะได้รู้ลักษณะของเต่า เช่นเต่ามี4 ขา

--------------------------




สรุปจากการดูVDO เรื่องความลับของเเสง




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

สมารถนำนิทานจากเรื่องความลับของแสงไปประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กได้ เพราะนิทานจะเป็นสื่อในการเรียนรู้ที่ดีของเด็กเพราะเด็กชอบฟังนิทานโดยเราจะนำเนื้อหาสอดแทรกลงไปในนิทานให้เด็กเกิดเรียนรู้ คิดตาม และซักถาม





ประเมินตนเอง    วันนี้ไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียน เนื่องจากไม่ค่อยสบาย แต่ก็ไปดูVDO ที่อาจารย์ให้ดูแล้วสรุปเป็นความเข้าใจของตนเอง

ประเมินเพื่อน  เพื่อนส่วนมากมาครบ ตั้งใจฟังครูสอน และร่วมกันอภิปรายในชั้นเรียน

ประเมินอาจารย์  อาจารย์มีการนำสื่อมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนให้นักศึกษา ซึ่งเป็นสื่อนิทานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย








วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2557

Article








บทความ ฝึกทักษะสังเกต...นำลูกสู่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ทักษะสังเกตเป็นทักษะขั้นพื้นฐานสำหรับการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ การสังเกต( Observation)
คือการใช้ประสาทสัมผัสอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
เพื่อต้องการรู้รายละเอียดของสิ่งนั้นๆ ซึ่งจะนำมาซึ่งการเรียนรู้หรือเก็บข้อมูลเป็นประสบการณ์ต่อไป
วิธีการส่งเสริมทักษะผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5

ตา (ดู) 
พ่อแม่ควรแนะนำให้ลูกสังเกตลักษณะของสิ่งต่างๆ เช่นให้เขาสังเกตสีของใบไม้ต่างๆ ว่ามีสีที่แตกต่างกัน

หู(ฟัง)
พ่อแม่อาจใช้วิธีอัดเสียงที่เด็กคุ้นหู เช่นเสียงเป็ด ไก่ แล้วเปิดให้เด็กทายว่าเป็นเสียงอะไร

จมูก (ดมกลิ่น)
การฝึกขั้นแรกคือให้เด็กดมกลิ่นต่างๆที่เหมือนกันและต่างกันที่เขาคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน เช่น สบู่ แป้ง  แล้วให้เด็กบรรยายความรู้สึกเมื่อได้ดมกลิ่น

ลิ้น (ชิมรส)
ให้เด็กชิมอาหารแล้วบอกว่ารสเป็นอย่างไร เช่น น้ำตาล รสหวาน

ผิวกาย (สัมผัส)
การเรียนรู้ด้วยการใช้มือสัมผัส แตะ หรือเอาสิ่งของต่างๆมาสัมผัสกับผิวหนัง ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้คุณสมบัติของวัตถุต่างๆ



สรุปบทความ Mind Mapping








วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 4









  วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอบทความ 5 บทความ
    โดยดิฉันสรุปแต่ละบทความของเพื่อน เป็น mind mapping ดังนี้











บทความ วิทย์- คณิต สำคัญกับเด็กอย่างไร
การจัดประสบการณ์ผ่านการเล่นให้เด็ก การทดลอง การสังเกตุการเปลี่ยนแปลง
และตั้งคำถามให้กับเด็ก ให้เด็กทดลองเพื่อหาคำตอบ
ครูที่ดีจะต้องสามารถตั้งคำถาม ให้เด็กได้คิดและตอบได้



เนื้อหาที่สอนในชั้นเรียน




การนำไปประยุกต์ใช้

สามารถนำความรู้เกี่ยวกับบทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ไปปรับใช้ในการเรียนการสอน และการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก ได้อย่างเหมาะสมตามวัย และตามพัฒนาการของเด็กในวัยนั้นๆ
ซึ่งกิจกรรมจะเน้นเด็กเป็นสำคัญ และให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ ทดลอง 






ประเมินตนเอง  วันนี้ตั้งใจเรียน และฟังเพื่อนนำเสนอ ตอบคำถามร่วมกับเพื่อนและอาจารย์

ประเมินเพื่อน  เพื่อนตั้งใจเรียน ส่วนมากแต่งกายถูกระเบียบ ไม่คุยกันเวลาเพื่อนคนอื่นนำเสนอบทความ

ประเมินอาจารย์  อาจารย์มีเทคนิคโดยการใช้คำถามกระตุ้นความคิดนักศึกษา และอาจารย์ยังช่วยต่อ
ยอดความคิดของนักศึกษา












วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่3


                               






วันนี้อาจารย์ให้เพื่อนๆออกมานำเสนอและวิเคราะห์บทความของตนเอง
---->คุณลักษณะตามวัย คือสิ่งที่แสดงออกมา แสดงให้เห็น
 การพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย-->การเรียนรู้อย่างมีความสุข------>จากความคิด ปฏิบัติจริง
                                                                         --------> เรียนรู้จากองค์รวมครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน









การนำไปประยุกต์ใช้

สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาเด็กและจัดประสบการณ์ให้เด็กได้อย่างเหมาะสมและตรงตามความสนใจของเด็ก ซึ่งการจัดประสบการณ์ให้เด็กนั้น จะต้องคำนึงถึงพัฒนาการของเด็กว่าเด็กในแต่ละช่วงอายุนั้นๆเด็กสามารถทำอะไรได้บ้าง และการให้ประสบการณ์กับเด็กจะต้องเริ่มจากสิ่งที่ใกล้ตัวเด็ก แล้วค่อยเชื่อมโยงไปสิ่งที่ไกลตัวเด็กซึ่งจะต้องมีลักษณะเป็นรูปธรรม






ประเมินตนเอง   มาเรียนสาย 5นาที แต่ก็ตั้งใจฟังตรูสอนและร่วมอภิปรายภายในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน   เพื่อนส่วนใหญ่ตั้งใจฟังครูสอน และร่วมตอบคำถามเมื่ออาจารย์ถาม

ประเมินอาจารย์  อาจารย์มีเทคนิคการสอนโดยใช้คำถามกระตุ้นให้นักศึกษาต่อยอดความคิดจากประสบการณ์เดิมไปความรู้ใหม่